วิธีการและเหตุผลที่คุณต้องมี FMEA

Products
Customer
Customer

คุณช่วยอธิบายถึงวัตถุประสงค์และแนวทางของ FMEA เพิ่มเติมหน่อยได้มั้ยคะ?

NSS
NSS

เมื่อพูดถึงการทำ FMEA เราจะนึกถึงสาเหตุของการเกิดความเสียหาย

เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้ เช่น อุปกรณ์, บุคคล, เครื่องมือ

หรือสิ่งแวดล้อม เพราะถ้าหากต้นเหตุเปลี่ยน ผลลัพธ์ก็จะเปลี่ยนไปด้วย

NSS
NSS

กระบวนการทำงานของ FMEA  จะประเมินสาเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายนั่นคือ ลักษณะของความเสียหาย (Failure mode) และ ผลกระทบของความเสียหาย (effect of failure mode) เพื่อป้องกันการทำให้เกิดปัญหา

Customer
Customer

ความแตกต่างระหว่าง “Failure mode (ลักษณะของความเสียหาย)” และ

Failure (ความเสียหาย)” คืออะไร?

NSS
NSS

Failure mode (ลักษณะของความเสียหาย)” หมายถึง ลักษณะการเกิดความเสียหายของแต่ละรายการFailure (ความเสียหาย)” หมายถึง ความเสียหายของฟังก์ชั่น

ตัวอย่างด้านล่าง:

Failure mode (ลักษณะของความเสียหาย)” => “Failure (ความเสียหาย)”: สายเคเบิลไม่สามารถเชื่อมต่อ => มอเตอร์จึงไม่สามารถใช้งานได้

Failure mode (ลักษณะของความเสียหาย)” => “Failure (ความเสียหาย)“: รถยางแบน => ขับรถไม่ได้

Customer
Customer

อ่อ เข้าใจแล้วค่ะ

NSS
NSS

ในอุตสาหกรรมการผลิต FMEA มี 2 ชนิดด้วยกัน คือ

1. Design-FMEA (DFMEA, การออกแบบ FMEA) และ

2. Process-FMEA (PFMEA, กระบวนการผลิต FMEA).

Customer
Customer

แล้วอะไรคือความแตกต่างระหว่าง Design-FMEA(DFMEA, การออกแบบ FMEA) และ

Process-FMEA(PFMEA, กระบวนการผลิต FMEA) กันนะ?

NSS
NSS
  • Design-FMEA (DFMEA, การออกแบบ FMEA): เกี่ยวกับการออกแบบ
  • Process-FMEA (PFMEA, กระบวนการผลิต FMEA): เกี่ยวกับกระบวนการผลิต
NSS
NSS

เมื่อเราผลิตสินค้า เราจำเป็นต้องพิจารณาถึงลักษณะของความเสียหายทั้งกระบวนการออกแบบและการผลิต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อของ DFMEA และ PFMEA.

Customer
Customer

เข้าใจแล้วค่ะว่า FMEA เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือในการออกแบบและการผลิตสินค้า

ซึ่งจะช่วยลดการเกิดปัญหาและความเสียหายในการผลิตสินค้า

ลูกค้า
ลูกค้า

งั้นช่วยบอกวิธีการทำ FMEA หน่อยได้มั้ยคะ?

NSS
NSS

ในการทำ FMEA เราจะประเมินค่าลำดับความสำคัญของความเสี่ยง โดยผลลัพธ์ของค่า

Severity (ความรุนแรง), Frequency (โอกาสในการเกิด) และ Detection (การตรวจหา)

ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เราจัดลำดับความเสี่ยง

*RPN : Risk Priority Number (ค่าลำดับความสำคัญของความเสี่ยง)

NSS
NSS

① กรอกข้อมูล “Failure mode” ลักษณะการเกิดความเสียหายของแต่ละรายการ

② กรอกผลกระทบของ “Failure mode” ที่เกิดขึ้นกับรายการสินค้าและรายชื่อลูกค้า

③ ให้คะแนนความรุนแรงของความเสียหาย (จาก 1 ถึง 10)

④ กรอกอัตราการเกิดความเสียหาย

⑤ ให้คะแนนอัตราการเกิดความเสียหาย (จาก 1 ถึง 10)

⑥ กรอกวิธีการตรวจหาความเสียหาย

⑦ ให้คะแนนวิธีการตรวจหาความเสียหาย (จาก 1 ถึง 10)

⑧ นำตัวเลขจากข้อ 3 ,5 และ 7 มารวมกันจะได้ ค่าลำดับความสำคัญของความเสี่ยง (RPN)

ลูกค้า
ลูกค้า

อย่างนี้ เราก็จะสามารถหาค่าลำดับความสำคัญของความเสี่ยง ได้ตามวิธีด้านบน สินะ

NSS
NSS

ใช่เลยครับ และหากผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนด้านบนมีค่าสูง เราสามารถลดค่าของผลลัพธ์ (RPN)

ได้จากวิธีที่ ⑨ และ ⑩ ดังนี้

⑨ สำหรับชิ้นงานที่มีค่าลำดับความสำคัญของความเสี่ยง RPN สูง

ให้กรอกแผนการพัฒนา ที่จะช่วยลดความเสี่ยง

⑩ คำนวณค่า RPN อีกครั้ง ตามแผนการพัฒนา และหากคะแนน RPN ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

เราสามารถกลับไปทำขั้นตอนที่ ⑨ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้

NSS
NSS

ขั้นตอนที่ ① และ ② มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน ก็จะทำให้ FMEA ไม่มีประสิทธิภาพ

ค่าลำดับความสำคัญของความเสี่ยง (RPN) = ความรุนแรง (Severity)  × โอกาสเกิด (Frequency)  × การตรวจหา (Detection)

ลูกค้า
ลูกค้า

เข้าใจแล้วค่ะ ว่าเราสามารถลดค่าลำดับความสำคัญของความเสี่ยง RPN ใน FMEA ได้ โดยการลดอัตราโอกาสเกิด (Frequency)” และ เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจหา”การตรวจหา (Detection)

**ค่า RPN ยิ่งน้อยยิ่งดี

NSS
NSS

ใช่เลยครับ อย่างไรก็ตาม FMEA ต้องการให้เราตรวจสอบข้อมูลที่เรากรอกเป็นระยะๆ

ตามที่ได้แก้ไขหรือปรับเปลี่ยนข้อมูลในสาเหตุของความเสียหายมันเป็นสิ่งสำคัญที่ลดความเสี่ยง

เพื่อทำการขอการรับรองมาตราฐาน IATF16949 เมื่อเราจะพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่

เราสามารถอ้างอิงข้อมูลจากสินค้ารุ่นเก่าเพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตสินค้ารุ่นใหม่ได้

ลูกค้า
ลูกค้า

เข้าใจแล้วค่ะ

ในการทำ FMEA อาจเป็นเรื่องที่ดูซับซ้อน แต่หากเราได้เตรียมข้อมูลไว้แล้ว ในครั้งถัดๆไป

เราสามารถนำข้อมูลที่เตรียมไว้มาใช้ในการทำโมเดลของสินค้ารุ่นใหม่ๆ ได้ทันที

โดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ถูกต้องมั้ยคะ

NSS
NSS

ถูกต้องแล้วครับ งั้นทางเราขอนำเสนอซอฟแวร์ APIS IQ ที่สามารถทำ FMEA และวิเคาระห์ความเสี่ยง

คลิก ที่นี่ เพื่อศึกษา APIS IQ เพิ่มเติมครับ