ตอนนี้เราใช้ Excel ในการทำ FMEA แต่ว่ามันยังไม่ตอบโจทย์การทำงาน
แล้วคุณลูกค้าพบปัญหาอะไรครับ
เราพบว่ารูปแบบในการกรอกข้อมูลในตาราง Excel มีจำนวนมาก ทำให้เกิดความสับสนในการใช้งาน ข้อมูลไม่เชื่อมต่อกัน ในบางครั้งก็ลืมกรอกข้อมูลในบางตำแหน่ง และถ้าหากมีการเปลี่ยนผู้ใช้งาน ก็ยิ่งทำให้การกรอกข้อมูลไม่เป็นไปในทางเดียวกัน
ที่สำคัญเราแบ่งชีทในการทำงานเป็น 2 ส่วนคือ DFMEA และ PFMEA จึงทำให้การทำงานร่วมกันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
ปัญหาในส่วนถัดมา คือ เราพบสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานที่เกิดจากปัญหาซ้ำๆ เหมือนกับเดือนที่ผ่านมา
อ่ออออ ดูเหมือนว่าการใช้ Excel ทำ FMEA ทำให้เกิดปัญหา ดังนี้
a. ความยุ่งยากในความสัมพันธ์ของโครงสร้าง ฟีเจอร์ และความเสียหาย ของสินค้า
b. ลืมกรอกข้อมูลในบางช่อง
c. ประสบการณ์ของผู้ใช้งานต่างกัน
d. PFMEA ไม่เชื่อมกับ DFMEA
การทำ FMEA ที่มีข้อมูลจำนวนมาก เมื่อนำมาใช้งานใน Excel ทำให้งานเกิดความซับซ้อนและไม่มีประสิทธิภาพ ใช่มั้ยครับ?
ใช่ค่ะ ทาง NSS มีอะไรที่ตอบโจทย์ปัญหาเหล่านี้มั้ย?
เราขอนำเสนอเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการวางระบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ลดความเสี่ยงในการทำงานและวิเคราะห์กระบวนการผลิต ที่เรียกว่า APIS IQ
APIS IQ มันทำอะไรได้บ้างคะ?
เพื่อให้เห็นภาพ เราขอแนะนำ APIS IQ ในเบื้องต้นนะครับ
- ปัจจุบันมีบริษัททั่วโลกใช้งาน APIS IQ กว่า 1,500 แห่ง เป็นเวลา 20 ปี
- เป็นตัวช่วยในการขอมาตรฐาน ISO26262และ IATF16949
- พัฒนาคุณภาพของการออกแบบและกระบวนการผลิตด้วยระบบการวิเคราะห์ความเสียหาย
ดีจังเลยค่ะ
ในการทำ APIS IQ มีด้วยกัน 2 ส่วน คือ PFMEA และ DFMEA ซึ่งในการทำงานของทั้งสองส่วน ประกอบไปด้วย Structure โครงสร้าง, Function ฟังก์ชั่น และ Failure ความเสียหาย
① แผนภูมิต้นไม้ , ความสัมพันธ์ของฟังก์ชั่น, ความสัมพันธ์ของความเสียหาย
(Tree structure, Function net, Failure net)
② ปรับ Tree diagram เป็นตารางชีท
③ ฟังก์ชั่นทางสถิติ (แสดงกราฟผลลัพธ์)
④ แผนภูมิ PFMEA สามารถทำแผนภูมิกระบวนการผลิตและแผนการควบคุมได้
① แผนภูมิต้นไม้ , ความสัมพันธ์ของฟังก์ชั่น, ความสัมพันธ์ของความเสียหาย
(Tree structure, Function net, Failure net)
ในส่วนของโครงสร้าง ฟังก์ชั่น และความเสียหาย มีการเชื่อมโยงกันและในแต่ละส่วนสามารถจำแนกรายละเอียดได้ โดยจำลองความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล
② ปรับ Tree diagram เป็นตารางชีท
1.หลังจากกรอกรายละเอียดใน Tree diagram เราสามารถปรับรูปแบบเป็นตารางชีทได้
2.สลับหน้าต่างตารางชีทแต่ละรูปแบบโดยไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำ เช่น ตารางชีท VDA กับ AIAG/VDA
3.ข้อมูลใน Tree diagram และตารางชีทเชื่อมต่อกัน
- AIAG: กลุ่มปฏิบัติการอุตสาหกรรมยานยนต์(Automotive Industry Action Group)
- VDA: สมาคมด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศเยอรมนี(Verband der Automobilindustrie)
③ ฟังก์ชั่นทางสถิติ (แสดงกราฟผลลัพธ์)
- เลือกรูปแบบของกราฟที่ต้องการตรวจสอบ โดยผลลัพธ์จะแสดงเป็นแถบสีเพื่อให้ง่ายต้องการจัดเรียงลำดับความสำคัญ
④ แผนภูมิ PFMEA สามารถทำแผนภูมิกระบวนการผลิตและแผนการควบคุมได้
1.เมื่อมีการแก้ไขในส่วนใดส่วนหนึ่งของ แผนภูมิกระบวนการผลิตและแผนการควบคุม ข้อมูลทั้ง 2 ส่วนจะปรับแก้ไขทันที
ฉันเข้าใจแล้วค่ะ APIS IQ ช่วยทำ FMEA ได้มีประสิทธิภาพมาก เมื่อเทียบกับการทำงานบน Excel ที่ค่อนข้างยุ่งยาก
ทาง NSS ขอนำเสนอ APIS IQ ที่เป็นซอฟต์แวร์ในการทำ FMEA และทำการวิเคราะห์ความเสี่ยง
คลิก ที่นี่ เพื่อศึกษา APIS IQ เพิ่มเติม